วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

ปร.จีน

- สิ่งที่ชาวจีนสนใจคือการดำเนินชีวิตในโลกนี้ ปรัชญาจีนจึงเน้นที่หลักจริยธรรม
- คำพูดที่สะท้อนจิตวิญญาณของจีนคือ คนจีนไม่ได้ถือความคิดทางศาสนาและกิจกรรมทางศาสนาเป็นส่วนสำคัญที่สุดและน่าหลงไหลที่สุดในชีวิต พื้นฐานจิตวิญญาณของวัฒนธรรมจีนคือ จริยธรรม มิใช่ศาสนา
- จิตวิญญาณของปรัชญาจีนคือ “คน”
o แนวทางที่ ๑ : ความสำเร็จสูงสุดของการแสวงหาคือ “อริยปราชญ์”
o แนวทางที่ ๒ : ความสัมพันธ์ของคนในสังคมและกิจกรรมทางโลก
o ภาระหน้าที่ของปรัชญาจีน : ประสานแนวความคิดทั้งสองนี้ (อุดมคติ+ความเป็นจริงของโลก) เข้าด้วยกัน
o ภายในเป็นอริยปราชญ์ ภายนอกเป็นธรรมราชา
- อริยปราชญ์และการเมือง
o กิจกรรมทางโลกมิใช่เรื่องนอกหน้าที่ของอริยปราชญ์ กิจกรรมทางโลกคือแก่นแท้ของการพัฒนาบุคลิกภาพที่สมบูรณ์
o เขามิเพียงทำหน้าที่ในฐานะราษฎรของสังคมเท่านั้น แต่ยังทำในฐานะของ “ราษฎรของจักรวาล”
o “ภายในเป็นอริยปราชญ์ ภายนอกเป็นธรรมราชา” แสดงถึงความเกี่ยวพันอย่างแยกไม่ออกระหว่างอริยปราชญ์และหน้าที่ทางสังคมการเมือง
- ภูมิหลังทางภูมิศาสตร์ คือผืนดินอันกว้างใหญ่ไพศาล ชาวจีนจึงคิดว่า แผ่นดินของเขาคือ โลก (ใต้ฟ้า /ใต้หล้า)
- ภูมิหลังทางเศรษฐกิจ : เป็นระบบเศรษฐกิจแบบชาวนา การกสิกรรม และเจ้าของที่ดิน ผู้มีความเข้มแข็งทางกสิกรรมและสงครามจะเป็นผู้ชนะ
o “รากแก้ว” คือกสิกรรม
o “ปลายกิ่ง” คือ พาณิชย์
- ทัศนะร่วมกันของปรัชญาจีน
o “ฤดูหนาวถดถอยไป ฤดูร้อนก็เข้ามา ฤดูร้อนถดถอยไป ฤดูหนาวก็เข้ามา” อี้จิง (ปรัชญาหยู)
o “เมื่ออาทิตย์ขี้นถึงตอนเที่ยงก็จะตก เมื่อดวงจันทร์เต็มดวงก็จะกร่อน” อี้จิง (ปรัชญาหยู)
o “การหมุนเวียนเปลี่ยนกลับเป็นกฎเกณฑ์ที่สำคัญที่สุดของฟ้าดิน”
o “การพลิกกลับสู่ด้านตรงข้ามคือความเคลื่อนไหวของเต้า” (เหลาจื่อ)
o หลักจริยธรรมทางสายกลาง “อย่าเกินเลย”
- ดังนั้น
o ปรัชญาหยู เป็นปรัชญาทางสังคม จึงเป็นปรัชญาในชีวิตประจำวัน เพราะเน้นหน้าที่ทางสังคม
o ปรัชญาเต้า เน้นสิ่งธรรมชาติที่เกิดขึ้นภายในคน
o นักปราชญ์หยู ท่องอยู่ในสังคม นักปราชญ์เต้าท่องอยู่นอกสังคม (จวงจื่อ)

วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

การทำแท้งในมุมมองของคริสตชน

คริสตชนนั้น มนุษย์เป็นดังพระยาลักษณ์ของพระเจ้า เพราะพระเจ้าได้ทรงสร้างมนุษย์ตามพระยาของพระองค์ พระเจ้าได้ประทานลมหายใจให้แก่มนุษย์ ชาวคริสต์จึงเชื่อและแสดงออกมาในชีวิต ไม่วาจะเป็นของการปฏิบัติศาสนกิจ หลักคำสอน ว่าตนเองเป็นของพระเจ้า ดังนั้นมนุษย์จึงไม่มีสิทธิที่จะทำลายชีวิตทั้งต่อตนเองและผู้อื่น เพราะเป็นการละเมิดสิทธิของพระเจ้า เป็นการทำลายความศักดิ์ศรีของมนุษย์ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะมาจากพระเจ้า
มนุษย์มีอิสระทั้งในด้านความคิด การกรทำ การตัดสินใจ ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ที่ทำให้มนุษย์ต่างจากสัตว์และสิ่งอื่นๆ และมีคุณค่าสูงกว่าสรรพสิ่งที่อยู่ในโลก
คำสอนของพระศาสนจักรโรมันคาทอลิกถือว่า มนุษย์เป็นสิ่งที่ประเสริฐสุดเหนือสิ่งอื่นใดในโลก เพราะมาจากพระเจ้า ดังที่ในพระคัมภีร์ปฐมกาลชาวคริสต์ได้กล่าวว่า “พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ด้วยผงคลีดิน ระบายลมปราณเข้าทางจมูก มนุษย์จึงเป็นผู้มีชีวิต” (ปฐก.2:7) และชาวอิสราเอลถือว่า ลมปราณ เป็นเครื่องหมายของชีวิต และพระเจ้าก็ได้มอบบัญญัติให้แก่มนุษย์ หนึ่งในนั้นก็คือ “อย่าฆ่าคน”
และปัญหาการทำแท้ง ก็เป็นปัญหาหนึ่งที่พระศาสนจักรคาทอลิกให้ความสนใจและห่วงใยเสมอ และรู้สึกเห็นใจกับผู้ได้รับปัญหาเหล่านี้ แต่ว่าพระศาสนจักรคาทอลิกมิได้เห็นด้วยกับการทำแท้ง แต่ได้กลับคัดค้านกับการทำแท้ง และได้เสนอทางออกของปัญหานี้ด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งยังเสนอให้องค์กรและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้หันมาร่วมมือกันแก้ปัญหาอย่างจริงจัง โดยแก้ปัญหาที่ต้นเหตุของปัญหา และช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหานี้
ในหนังสือจริยธรรมศาสนาคาทอลิกได้ให้คำจำกัดความการทำแท้งว่า “เป็นการนำเอาชีวิตมนุษย์ (ทารกในครรภ์มารดา) ที่ยังไม่ถึงเวลาคลอด เอาออกเสียจากครรภ์มารดา ด้วยวิธีที่ปฏิบัติต่อครรภ์มารดา ไม่ว่าจะเป็นการฆ่าในครรภ์แล้วจึงเอาออก หรือการเอาออกมาฆ่านอกครรภ์ก็ตาม” ดังนั้นการทำแท้งจึงมีความหมายว่าเป็นการทำลายชีวิต ซึ่งเป็นการกระทำที่ขัดต่อคำสั่งของพระเจ้า เป็นการละเมิดสิทธิของพระเจ้าและศักดิ์ศรีของชีวิตมนุษย์
ต่อไปนี้ก็จะเป็นตัวอย่างบางกรณีที่น่าสนใจที่เกิดขึ้นจริงในสังคมมีดังนี้
1. การตั้งครรภ์ที่เกิดจากการถูกข่มขืนหรือหลอกลวง ทางพระศาสนจักรคาทอลิกมีความเห็นว่า กรณีนี้ก็น่าเห็นใจกับผู้ที่ถูกกระทำอย่างนี้ เกิดแผลในใจของผู้ที่ถูกกระทำ และบรรดาญาติพี่น้อง ผู้ที่ถูกกระทำควรพิจารณาดูว่าเป็นการถูกต้องหรือไม่กับการทำแท้ง ควรที่ทำสิ่งที่ถูกต้องให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยที่ไม่ทำร้ายให้คนอื่นที่ไม่รู้เห็นด้วย
สรุปได้ว่า ตามหลักคำสอนของคริสต์ศาสนานั้นห้ามการทำแท้งอย่างเด็ดขาด ผู้ที่ทำแท้งโดยเต็มใจ ถือว่ามีโทษทางศาสนาอย่างหนัก และควรหาทางออก การแก้ปัญหา เพราะการทำแท้งก็ไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาเสมอไป อีกทั้งเป็นปัญหาทางสังคมและศีลธรรมด้วย