วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
หัวข้อสนนา
หรือเจตนาดีกว่า ท่าคิดว่าอย่างไร
วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ปรัชญาการดำเนินชีวิต
แม้เราจะได้บทเรียนจากผู้ซื่อสัตย์ แต่เราก็ไม่ได้คิดจะปฏิบัติตามเขา? คานธี
ทำงานด้วยร่างกายจะถูกปกครอง ทำงานด้วยสมองจะปกครองคนอื่น? เม่งจื้อ
ถ้อยคำที่ใช้ในการถกเถียง จะมีความจริงเพียงครึ่งเดียว สตีเวน ลิค็อต
มีแต่คนโง่เขลา ที่คิดว่าชีวิตตนเองว่างเปล่าไร้ความหมาย นิโคไล เชอนิเชฟกี้
ธรรมชาติให้ลิ้นเรามาอันเดียว แต่หู 2 หู นั่นคือ เราต้องฟังมากกว่าพูดถึง 2 เท่า อีพิคติตุส
เมื่อเราไม่ได้รักใคร ก็อย่าหวังจะให้ใครมารักเรา เอพิคเตตัส
รู้น้อยแล้วปฏิบัติ ดีกว่ารู้สารพัดแต่อยู่เฉย คาริล ยิบราน
อย่าถ่อมตนกับคนยโส อย่าวางโตกับผู้ถ่อมตน โทมัส เจฟเฟสัน
เราจะหลีกหนีการตัดสินของผู้พิพากษาได้อยู่ทางเดียว นั่นคือการยอมอยู่ใต้กฎหมาย นโปเลียน
เมื่อเห็นคนเมา ให้คิดว่าเขากำลังหาทางหนีจากบางสิ่งที่ไม่งดงาม คาริล ยิบราน
ความภูมิใจที่ยิ่งใหญ่ของเรา ไม่ได้อยู่ที่เราไม่เคยล้มแต่อยู่ที่เราสามารถลุกขึ้นได้ทุกครั้งที่เราล้มลง ขงจื้อ
สิงสิ่งที่ผู้ชายปิดไม่มิด ?คือ เมาสุราและการีความรัก นโปเลียน
หนทางไกลนับหมืนลี้? ต้องเริ่มต้นจากก้าวแรก เล่าจื้อ
ประโยคคลาสสิค ตามแนวคิดนักปรัชญา
ความหมาย "ทุกสิ่งทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา"
2. เรอร์เน เดกาสต์ กล่าวว่า "Gogito ego sum"
ความหมาย "I think therefor I am" ฉันคิดฉันจึงมีอยู่
3. จอห์น ล็อค กล่าวว่า "Tabula Rasa"
ความหมาย "เราเกิดมาเหมือนกระดาษเปล่า เราได้รับรู้สิ่งต่างๆ ก็โดยการมีประสบการณ์กับสิ่งนั้น"
4. จอร์จ บาร์กลีย์ กล่าวว่า "Esse est percipi" "To be is to be persieve"
ความหมาย " การเป็นอยู่คือการถูกรับรู้"
คำศัพท์ปรัชญาวันละนิด
- Cogito ergo sum (ค็อค-จิ-โต-เออร์โก-ซุม) มาจากคำละติน แปลว่า ฉันคิด ดังนั้นฉันจึงเป็นฉัน (I think, therefore I am) ตามหลักปรัชญาความรู้ของเดซ์การ์ตส์ (Descartes) ระบบการโต้แย้งเชิงปรัชญาของเขาเรียกว่า “the catersian argument” (เดอะ-แค็ท-เท-เชี่ยน-อา-กิว-เม้นท์)
- Common sense (คอม-ม่อน-เซนส์) สามัญสำนึกเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่
- Essence (เอ็ส-เซ้นส์ ) สารัตถะหรือแก่นแท้ของสิ่งต่าง ๆ
- existentialism (อิก-ซิส-เทน-เชียส-ลิซซึ่ม) หลักปรัชญาอัตถิภาวะนิยม ว่าด้วย การดำรงอยู่ (existence) ของมนุษย์ในฐานะปัจเจกบุคคล (individual) อย่างเป็นอิสระ (free) ที่มีคุณค่าและความหมายแตกต่างจากวัตถุสิ่งของ
- Free will (ฟรีวิล) เจตจำนงเสรี เป็นคำตรงข้ามกับชะตากรรมถูกกำหนด (determinism) เป็น ความคิดทางปรัชญาที่โต้แย้งกันว่า มนุษย์มีเจตจำนงเสรีเป็นอิสระแก่ตัวในการกระทำหรือไม่ หรือว่าถูกกำหนดไว้แล้วโดยชะตากรรม หรือโดยพระผู้เป็นเจ้าขีดเส้นชะตากรรมไว้แล้ว
- intuition (อิน-ทิว-อิ-ชั่น) ญาณที่ล่วงรู้มาก่อนแล้ว ญาณสังหรณ์
- tabula rasa (แท็บ-บุ-ล่า-รา-ซ่า) มาจากคำละติน แปลว่า “a blank tablet-กระดานที่ว่างเปล่า” เป็นการอธิบายสภาวะจิตของมนุษย์ในทันทีที่ที่เกิดมาเป็นจิตว่างเปล่า ต่อมาได้รับประสบการณ์มาพิมพ์ลงในจิตจึงเกิดเป็นความรู้คิดต่าง ๆ ขึ้น
นักปรัชญา คนสำคัญ
โสกราตีสเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ที่ไม่ได้มีผลงานการเขียนอะไรคงเหลือ อยู่ถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตามตัวตนและความคิดของเขายังคงอยู่ถึงปัจจุบันผ่านงานเขียนของ บุคคลอย่าง อริสโตเติล (Aristotle) เพลโต (Plato) อริสโตฟานเนส (Aristophanes) หรือ ซีโนฟอน (Xenophon) นอกจากนั้นยังมีทั้งนักเขียน นักคิด และนักปราชญ์ที่เก็บเรื่องราวของโสกราตีส อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถรู้ว่าข้อมูลเรื่องเล่าถึงชีวิตของโสกราตีสนั้นจริงหรือเท็จได้ อย่างแน่นอน ตามธรรมเนียมโบราณ โสกราตีสนั้นเป็นลูกของโสโฟรนิกัส (Sophronicus) ผู้เป็นพ่อ และ แฟนาเรต (Phaenarete) ผู้เป็นแม่ โสกราตีสได้แต่งงานกับซานทิปป์ (Xanthippe) และมีลูกชายถึง 3 คน เมื่อเทียบกับสังคมสมัยนั้นซานทิปป์ถึงได้ว่าเป็นผู้หญิงอารมณ์ร้าย และโสกราตีสเองได้กล่าวว่าเพราะเขาสามารถใช้ชีวิตกับซานทิปป์ได้ เขาใช้ชีวิตกับมนุษย์คนใดก็ได้ เหมือนกับผู้ฝึกม้าที่สามารถทนกับม้าป่าได้ โสกราตีสได้เห็นและร่วมรบในสมรภูมิ และ ตามสิ่งที่พลาโตได้กล่าวว่า โสกราตีสได้รับเหรียญเกียรติยศสำหรับความกล้าหาญในสมรภูมิ
ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ไม่กล่าวอย่างชัดเจนว่าโสกราตีสประกอบอาชีพใด ใน"ซิมโพเซียม" (Symposium) ซีโนฟอนกล่าวว่าโสกราตีสใช้ชีวิตกับการสนทนาปรัชญา โสกราตีสไม่น่าที่จะมีเงินมรดกจากครอบครัวเพราะบิดาของโสกราตีสเป็นเพียง ศิลปิน และตามการบรรยายของพลาโต โสกราตีสไม่ได้รับเงินจากลูกศิษย์ อย่างไรก็ตามซีโนฟอนกล่าวใน"ซิมโพเซียม"ว่า โสกราตีสรับเงินจากลูกศิษย์ของเขา และอาริสโตฟานเนสก็เล่าว่าโสกราตีสได้เปิดโรงเรียนของตนเอง ข้อสันนิษฐานอีกอย่างหนึ่งที่เป็นไปได้ก็คือ โสกราตีสเลี้ยงชีพผ่านเพื่อนที่ร่ำรวยของเขา เช่นเอลซีไบเดส (Alcibiades)
การไต่สวนและเสียชีวิต
โสกราตีสใช้ชีวิตอยู่ในช่วงเวลาของการเปลียนแปลงในอาณาจักรเอเธนส์ จากจุดสูงสุดของอาณาจักรเอเธนส์ถึงยุคเสื่อมภายหลังการพ่ายแพ้ให้กับกรุงสปาร์ตา (Sparta) มีบุคคลสามคนสำคัญที่ยุให้ศาลสาธารณะของกรุงเอเธนส์ไต่สวนโสกราตีส โดยกล่าวหาว่าโสกราตีสเป็นผู้ที่สร้างความเสื่อมศรัทธาในศาสนา และเยาวชนในกรุงเอเธนส์ เรื่องราวทั้งหมดนี้สามารถอธิบายได้ เมื่อนึกถึงสถานการณ์ในเมืองเอเธนส์ภายหลังการพ่ายแพ้ให้กับสปาร์ตานั้น ชาวเมืองเอเธนส์ ผู้ยังเชื่อถือในเทพเจ้าผู้ปกป้องเมืองต่างๆ มองว่าการพ่ายแพ้ของเอเธนส์เป็นเพราะเทพเจ้าเอเธนา (Athena) ผู้เป็นเทพปกครองเมืองเอเธนส์นั้นประสงค์จะลงโทษเมืองเอเธนส์เพราะผู้คนใน เมืองเสื่อมศรัทธาในศาสนา การที่โสกราตีสตั้งคำถามและสนทนาเกี่ยวกับปรัชญาจึงเท่ากับเป็นการทรยศชาติ การไต่สวนตัดสินว่าโสกราตีสมีความผิด และเขาถูกประหารโดยการรับพิษ
วิธีคิดแบบ โสคราตีส (Socrates)
โสคราตีส เชื่อว่าความรู้เป็นสิ่งสัมบูรณ์ คือ เป็นสากล เที่ยงแท้แน่นอน เป็นความรู้ในความจริง และมีความรู้ชนิดเดียวคือ ความรู้ชนิดที่ทำให้ผู้รู้รักความจริง เทิดทูนคุณธรรม สามารถคิดและทำได้อย่างถูกต้อง
โสคราตีสเชื่อว่า ผู้มีความรู้จะไม่เป็นคนเลวโดยเด็ดขาด ส่วนผู้ที่ยังทำผิด ก็เพราะเขาไม่มีความรู้ มีแต่เพียงความเห็น จึงอาจผิดพลาดได้เป็นธรรมดา ผู้มีความรู้ทุกคนสามารถเข้าถึงความจริงได้ตรงกัน เพราะความรู้หรือความจริงเป็นสิ่งที่มีอยู่ในตัวมนุษย์อยู่แล้ว เรียกว่าเป็นความรู้ก่อนประสบการณ์ (Apriori Knowledge) ดังนั้นสิ่งที่ถูกรู้คือธีคิด ตัวเรา มิใช่โลกภายนอก คนเราต้องศึกษาตนเอง (Know Thyself) ให้เข้าใจแล้วจะพบความจริง
วิธีการที่โสคราตีสใช้ในการศึกษาตนเองก็คือ การคิดตรึกตรองในขณะจิตสงบ และอีกวิธีหนึ่งคือ การถาม-ตอบ หรือที่เรียกว่า วิธีการของโสคราตีส (Socratic Method) ประกอบด้วย
1. สงสัยลังเล (skeptical) โสคราตีสจะเริ่มต้นด้วยการยกย่องคนอื่น พร้อมกับขอร้องให้ช่วยอธิบายเรื่องที่ยังไม่กระจ่างให้ฟัง เช่น ความรัก ความงาม คุณธรรม ความยุติธรรม ความรู้ เป็นต้น
2. สนทนา (conversation) โสคราตีสจะเป็นผู้ตั้งคำถามให้คู่สนทนาเป็นผู้ตอบ เขาเชื่อว่าวิธีการนี้จะทำให้คู่สนทนาเปิดเผยความจริงที่มีอยู่ในตัวเองออก มา โดยมีเขาเป็นเพียงผู้ช่วย ไม่ใช่ผู้นำความรู้ไปให้ เพราะความรู้ไม่ใช่สิ่งใหม่ ขอเพียงนำออกมาให้ถูกวิธี
3. หาคำจำกัดความ (conceptional หรือ definitional ) โสคราตีส เชื่อว่าความจริงมาตรฐานจะแฝงอยู่ในคำจำกัดความ หรือคำนิยาม ที่สมบูรณ์ เช่น ความยุติธรรม หากเรายังไม่รู้ว่า ความยุติธรรมคืออะไร เราก็ยังไม่เข้าใจและไม่รู้จักว่าการกระทำใดยุติธรรมหรือไม่ยุติธรรม เป็นต้น ดังนั้นการสนทนาจึงเป็นการเสนอคำนิยามศัพท์ และพยายามขัดเกลาคำนิยามนั้นให้บกพร่องน้อยที่สุด
4. ทดสอบด้วยการลงมือปฏิบัติ โดยใช้วิธีการยกตัวอย่างที่มีสภาพแวดล้อมต่างกันมาช่วยโต้แย้งเพื่อขัดเกลา คำนิยาม คำนิยามใดที่ยังโต้แย้งได้ก็แสดงว่ายังไม่สมบูรณ์ จะต้องหาคำจำกัดความที่ทุกคนยอมรับโดยไม่มีข้อแย้ง
5. สรุปกฎเกณฑ์ไว้เป็นมาตรฐาน เพื่อนำไปใช้อ้างอิงต่อไป รวมถึงการพิสูจน์คำนิยามดังกล่าวด้วย