วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

ปร.จีน

- สิ่งที่ชาวจีนสนใจคือการดำเนินชีวิตในโลกนี้ ปรัชญาจีนจึงเน้นที่หลักจริยธรรม
- คำพูดที่สะท้อนจิตวิญญาณของจีนคือ คนจีนไม่ได้ถือความคิดทางศาสนาและกิจกรรมทางศาสนาเป็นส่วนสำคัญที่สุดและน่าหลงไหลที่สุดในชีวิต พื้นฐานจิตวิญญาณของวัฒนธรรมจีนคือ จริยธรรม มิใช่ศาสนา
- จิตวิญญาณของปรัชญาจีนคือ “คน”
o แนวทางที่ ๑ : ความสำเร็จสูงสุดของการแสวงหาคือ “อริยปราชญ์”
o แนวทางที่ ๒ : ความสัมพันธ์ของคนในสังคมและกิจกรรมทางโลก
o ภาระหน้าที่ของปรัชญาจีน : ประสานแนวความคิดทั้งสองนี้ (อุดมคติ+ความเป็นจริงของโลก) เข้าด้วยกัน
o ภายในเป็นอริยปราชญ์ ภายนอกเป็นธรรมราชา
- อริยปราชญ์และการเมือง
o กิจกรรมทางโลกมิใช่เรื่องนอกหน้าที่ของอริยปราชญ์ กิจกรรมทางโลกคือแก่นแท้ของการพัฒนาบุคลิกภาพที่สมบูรณ์
o เขามิเพียงทำหน้าที่ในฐานะราษฎรของสังคมเท่านั้น แต่ยังทำในฐานะของ “ราษฎรของจักรวาล”
o “ภายในเป็นอริยปราชญ์ ภายนอกเป็นธรรมราชา” แสดงถึงความเกี่ยวพันอย่างแยกไม่ออกระหว่างอริยปราชญ์และหน้าที่ทางสังคมการเมือง
- ภูมิหลังทางภูมิศาสตร์ คือผืนดินอันกว้างใหญ่ไพศาล ชาวจีนจึงคิดว่า แผ่นดินของเขาคือ โลก (ใต้ฟ้า /ใต้หล้า)
- ภูมิหลังทางเศรษฐกิจ : เป็นระบบเศรษฐกิจแบบชาวนา การกสิกรรม และเจ้าของที่ดิน ผู้มีความเข้มแข็งทางกสิกรรมและสงครามจะเป็นผู้ชนะ
o “รากแก้ว” คือกสิกรรม
o “ปลายกิ่ง” คือ พาณิชย์
- ทัศนะร่วมกันของปรัชญาจีน
o “ฤดูหนาวถดถอยไป ฤดูร้อนก็เข้ามา ฤดูร้อนถดถอยไป ฤดูหนาวก็เข้ามา” อี้จิง (ปรัชญาหยู)
o “เมื่ออาทิตย์ขี้นถึงตอนเที่ยงก็จะตก เมื่อดวงจันทร์เต็มดวงก็จะกร่อน” อี้จิง (ปรัชญาหยู)
o “การหมุนเวียนเปลี่ยนกลับเป็นกฎเกณฑ์ที่สำคัญที่สุดของฟ้าดิน”
o “การพลิกกลับสู่ด้านตรงข้ามคือความเคลื่อนไหวของเต้า” (เหลาจื่อ)
o หลักจริยธรรมทางสายกลาง “อย่าเกินเลย”
- ดังนั้น
o ปรัชญาหยู เป็นปรัชญาทางสังคม จึงเป็นปรัชญาในชีวิตประจำวัน เพราะเน้นหน้าที่ทางสังคม
o ปรัชญาเต้า เน้นสิ่งธรรมชาติที่เกิดขึ้นภายในคน
o นักปราชญ์หยู ท่องอยู่ในสังคม นักปราชญ์เต้าท่องอยู่นอกสังคม (จวงจื่อ)

วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

การทำแท้งในมุมมองของคริสตชน

คริสตชนนั้น มนุษย์เป็นดังพระยาลักษณ์ของพระเจ้า เพราะพระเจ้าได้ทรงสร้างมนุษย์ตามพระยาของพระองค์ พระเจ้าได้ประทานลมหายใจให้แก่มนุษย์ ชาวคริสต์จึงเชื่อและแสดงออกมาในชีวิต ไม่วาจะเป็นของการปฏิบัติศาสนกิจ หลักคำสอน ว่าตนเองเป็นของพระเจ้า ดังนั้นมนุษย์จึงไม่มีสิทธิที่จะทำลายชีวิตทั้งต่อตนเองและผู้อื่น เพราะเป็นการละเมิดสิทธิของพระเจ้า เป็นการทำลายความศักดิ์ศรีของมนุษย์ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะมาจากพระเจ้า
มนุษย์มีอิสระทั้งในด้านความคิด การกรทำ การตัดสินใจ ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ที่ทำให้มนุษย์ต่างจากสัตว์และสิ่งอื่นๆ และมีคุณค่าสูงกว่าสรรพสิ่งที่อยู่ในโลก
คำสอนของพระศาสนจักรโรมันคาทอลิกถือว่า มนุษย์เป็นสิ่งที่ประเสริฐสุดเหนือสิ่งอื่นใดในโลก เพราะมาจากพระเจ้า ดังที่ในพระคัมภีร์ปฐมกาลชาวคริสต์ได้กล่าวว่า “พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ด้วยผงคลีดิน ระบายลมปราณเข้าทางจมูก มนุษย์จึงเป็นผู้มีชีวิต” (ปฐก.2:7) และชาวอิสราเอลถือว่า ลมปราณ เป็นเครื่องหมายของชีวิต และพระเจ้าก็ได้มอบบัญญัติให้แก่มนุษย์ หนึ่งในนั้นก็คือ “อย่าฆ่าคน”
และปัญหาการทำแท้ง ก็เป็นปัญหาหนึ่งที่พระศาสนจักรคาทอลิกให้ความสนใจและห่วงใยเสมอ และรู้สึกเห็นใจกับผู้ได้รับปัญหาเหล่านี้ แต่ว่าพระศาสนจักรคาทอลิกมิได้เห็นด้วยกับการทำแท้ง แต่ได้กลับคัดค้านกับการทำแท้ง และได้เสนอทางออกของปัญหานี้ด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งยังเสนอให้องค์กรและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้หันมาร่วมมือกันแก้ปัญหาอย่างจริงจัง โดยแก้ปัญหาที่ต้นเหตุของปัญหา และช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหานี้
ในหนังสือจริยธรรมศาสนาคาทอลิกได้ให้คำจำกัดความการทำแท้งว่า “เป็นการนำเอาชีวิตมนุษย์ (ทารกในครรภ์มารดา) ที่ยังไม่ถึงเวลาคลอด เอาออกเสียจากครรภ์มารดา ด้วยวิธีที่ปฏิบัติต่อครรภ์มารดา ไม่ว่าจะเป็นการฆ่าในครรภ์แล้วจึงเอาออก หรือการเอาออกมาฆ่านอกครรภ์ก็ตาม” ดังนั้นการทำแท้งจึงมีความหมายว่าเป็นการทำลายชีวิต ซึ่งเป็นการกระทำที่ขัดต่อคำสั่งของพระเจ้า เป็นการละเมิดสิทธิของพระเจ้าและศักดิ์ศรีของชีวิตมนุษย์
ต่อไปนี้ก็จะเป็นตัวอย่างบางกรณีที่น่าสนใจที่เกิดขึ้นจริงในสังคมมีดังนี้
1. การตั้งครรภ์ที่เกิดจากการถูกข่มขืนหรือหลอกลวง ทางพระศาสนจักรคาทอลิกมีความเห็นว่า กรณีนี้ก็น่าเห็นใจกับผู้ที่ถูกกระทำอย่างนี้ เกิดแผลในใจของผู้ที่ถูกกระทำ และบรรดาญาติพี่น้อง ผู้ที่ถูกกระทำควรพิจารณาดูว่าเป็นการถูกต้องหรือไม่กับการทำแท้ง ควรที่ทำสิ่งที่ถูกต้องให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยที่ไม่ทำร้ายให้คนอื่นที่ไม่รู้เห็นด้วย
สรุปได้ว่า ตามหลักคำสอนของคริสต์ศาสนานั้นห้ามการทำแท้งอย่างเด็ดขาด ผู้ที่ทำแท้งโดยเต็มใจ ถือว่ามีโทษทางศาสนาอย่างหนัก และควรหาทางออก การแก้ปัญหา เพราะการทำแท้งก็ไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาเสมอไป อีกทั้งเป็นปัญหาทางสังคมและศีลธรรมด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

หัวข้อสนนา

สำหรับคุณ คิดว่า ารที่เราจะตัดสินว่าเขาดี หรือ ไม่ดี เราจะตัดสินเขาที่ การกระทำของเขา
หรือเจตนาดีกว่า ท่าคิดว่าอย่างไร

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ปรัชญาการดำเนินชีวิต

แม้เราจะได้บทเรียนจากผู้ซื่อสัตย์ แต่เราก็ไม่ได้คิดจะปฏิบัติตามเขา? คานธี

ทำงานด้วยร่างกายจะถูกปกครอง ทำงานด้วยสมองจะปกครองคนอื่น? เม่งจื้อ

ถ้อยคำที่ใช้ในการถกเถียง จะมีความจริงเพียงครึ่งเดียว สตีเวน ลิค็อต

มีแต่คนโง่เขลา ที่คิดว่าชีวิตตนเองว่างเปล่าไร้ความหมาย นิโคไล เชอนิเชฟกี้

ธรรมชาติให้ลิ้นเรามาอันเดียว แต่หู 2 หู นั่นคือ เราต้องฟังมากกว่าพูดถึง 2 เท่า อีพิคติตุส

เมื่อเราไม่ได้รักใคร ก็อย่าหวังจะให้ใครมารักเรา เอพิคเตตัส

รู้น้อยแล้วปฏิบัติ ดีกว่ารู้สารพัดแต่อยู่เฉย คาริล ยิบราน

อย่าถ่อมตนกับคนยโส อย่าวางโตกับผู้ถ่อมตน โทมัส เจฟเฟสัน

เราจะหลีกหนีการตัดสินของผู้พิพากษาได้อยู่ทางเดียว นั่นคือการยอมอยู่ใต้กฎหมาย นโปเลียน

เมื่อเห็นคนเมา ให้คิดว่าเขากำลังหาทางหนีจากบางสิ่งที่ไม่งดงาม คาริล ยิบราน

ความภูมิใจที่ยิ่งใหญ่ของเรา ไม่ได้อยู่ที่เราไม่เคยล้มแต่อยู่ที่เราสามารถลุกขึ้นได้ทุกครั้งที่เราล้มลง ขงจื้อ

สิงสิ่งที่ผู้ชายปิดไม่มิด ?คือ เมาสุราและการีความรัก นโปเลียน

หนทางไกลนับหมืนลี้? ต้องเริ่มต้นจากก้าวแรก เล่าจื้อ

ประโยคคลาสสิค ตามแนวคิดนักปรัชญา

1. เฮลาคลีตุส กล่าวว่า "You can't step the same river twice".
ความหมาย "ทุกสิ่งทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา"
2. เรอร์เน เดกาสต์ กล่าวว่า "Gogito ego sum"
ความหมาย "I think therefor I am" ฉันคิดฉันจึงมีอยู่
3. จอห์น ล็อค กล่าวว่า "Tabula Rasa"
ความหมาย "เราเกิดมาเหมือนกระดาษเปล่า เราได้รับรู้สิ่งต่างๆ ก็โดยการมีประสบการณ์กับสิ่งนั้น"
4. จอร์จ บาร์กลีย์ กล่าวว่า "Esse est percipi" "To be is to be persieve"
ความหมาย " การเป็นอยู่คือการถูกรับรู้"

คำศัพท์ปรัชญาวันละนิด

- Cogito ergo sum (ค็อค-จิ-โต-เออร์โก-ซุม) มาจากคำละติน แปลว่า ฉันคิด ดังนั้นฉันจึงเป็นฉัน (I think, therefore I am) ตามหลักปรัชญาความรู้ของเดซ์การ์ตส์ (Descartes) ระบบการโต้แย้งเชิงปรัชญาของเขาเรียกว่า “the catersian argument” (เดอะ-แค็ท-เท-เชี่ยน-อา-กิว-เม้นท์)

- Common sense (คอม-ม่อน-เซนส์) สามัญสำนึกเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่

- Essence (เอ็ส-เซ้นส์ ) สารัตถะหรือแก่นแท้ของสิ่งต่าง ๆ

- existentialism (อิก-ซิส-เทน-เชียส-ลิซซึ่ม) หลักปรัชญาอัตถิภาวะนิยม ว่าด้วย การดำรงอยู่ (existence) ของมนุษย์ในฐานะปัจเจกบุคคล (individual) อย่างเป็นอิสระ (free) ที่มีคุณค่าและความหมายแตกต่างจากวัตถุสิ่งของ

- Free will (ฟรีวิล) เจตจำนงเสรี เป็นคำตรงข้ามกับชะตากรรมถูกกำหนด (determinism) เป็น ความคิดทางปรัชญาที่โต้แย้งกันว่า มนุษย์มีเจตจำนงเสรีเป็นอิสระแก่ตัวในการกระทำหรือไม่ หรือว่าถูกกำหนดไว้แล้วโดยชะตากรรม หรือโดยพระผู้เป็นเจ้าขีดเส้นชะตากรรมไว้แล้ว

- intuition (อิน-ทิว-อิ-ชั่น) ญาณที่ล่วงรู้มาก่อนแล้ว ญาณสังหรณ์

- tabula rasa (แท็บ-บุ-ล่า-รา-ซ่า) มาจากคำละติน แปลว่า “a blank tablet-กระดานที่ว่างเปล่าเป็นการอธิบายสภาวะจิตของมนุษย์ในทันทีที่ที่เกิดมาเป็นจิตว่างเปล่า ต่อมาได้รับประสบการณ์มาพิมพ์ลงในจิตจึงเกิดเป็นความรู้คิดต่าง ๆ ขึ้น

นักปรัชญา คนสำคัญ

ประวัติ
โสกราตีสเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ที่ไม่ได้มีผลงานการเขียนอะไรคงเหลือ อยู่ถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตามตัวตนและความคิดของเขายังคงอยู่ถึงปัจจุบันผ่านงานเขียนของ บุคคลอย่าง อริสโตเติล (Aristotle) เพลโต (Plato) อริสโตฟานเนส (Aristophanes) หรือ ซีโนฟอน (Xenophon) นอกจากนั้นยังมีทั้งนักเขียน นักคิด และนักปราชญ์ที่เก็บเรื่องราวของโสกราตีส อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถรู้ว่าข้อมูลเรื่องเล่าถึงชีวิตของโสกราตีสนั้นจริงหรือเท็จได้ อย่างแน่นอน ตามธรรมเนียมโบราณ โสกราตีสนั้นเป็นลูกของโสโฟรนิกัส (Sophronicus) ผู้เป็นพ่อ และ แฟนาเรต (Phaenarete) ผู้เป็นแม่ โสกราตีสได้แต่งงานกับซานทิปป์ (Xanthippe) และมีลูกชายถึง 3 คน เมื่อเทียบกับสังคมสมัยนั้นซานทิปป์ถึงได้ว่าเป็นผู้หญิงอารมณ์ร้าย และโสกราตีสเองได้กล่าวว่าเพราะเขาสามารถใช้ชีวิตกับซานทิปป์ได้ เขาใช้ชีวิตกับมนุษย์คนใดก็ได้ เหมือนกับผู้ฝึกม้าที่สามารถทนกับม้าป่าได้ โสกราตีสได้เห็นและร่วมรบในสมรภูมิ และ ตามสิ่งที่พลาโตได้กล่าวว่า โสกราตีสได้รับเหรียญเกียรติยศสำหรับความกล้าหาญในสมรภูมิ
ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ไม่กล่าวอย่างชัดเจนว่าโสกราตีสประกอบอาชีพใด ใน"ซิมโพเซียม" (Symposium) ซีโนฟอนกล่าวว่าโสกราตีสใช้ชีวิตกับการสนทนาปรัชญา โสกราตีสไม่น่าที่จะมีเงินมรดกจากครอบครัวเพราะบิดาของโสกราตีสเป็นเพียง ศิลปิน และตามการบรรยายของพลาโต โสกราตีสไม่ได้รับเงินจากลูกศิษย์ อย่างไรก็ตามซีโนฟอนกล่าวใน"ซิมโพเซียม"ว่า โสกราตีสรับเงินจากลูกศิษย์ของเขา และอาริสโตฟานเนสก็เล่าว่าโสกราตีสได้เปิดโรงเรียนของตนเอง ข้อสันนิษฐานอีกอย่างหนึ่งที่เป็นไปได้ก็คือ โสกราตีสเลี้ยงชีพผ่านเพื่อนที่ร่ำรวยของเขา เช่นเอลซีไบเดส (Alcibiades)
การไต่สวนและเสียชีวิต
โสกราตีสใช้ชีวิตอยู่ในช่วงเวลาของการเปลียนแปลงในอาณาจักรเอเธนส์ จากจุดสูงสุดของอาณาจักรเอเธนส์ถึงยุคเสื่อมภายหลังการพ่ายแพ้ให้กับกรุงสปาร์ตา (Sparta) มีบุคคลสามคนสำคัญที่ยุให้ศาลสาธารณะของกรุงเอเธนส์ไต่สวนโสกราตีส โดยกล่าวหาว่าโสกราตีสเป็นผู้ที่สร้างความเสื่อมศรัทธาในศาสนา และเยาวชนในกรุงเอเธนส์ เรื่องราวทั้งหมดนี้สามารถอธิบายได้ เมื่อนึกถึงสถานการณ์ในเมืองเอเธนส์ภายหลังการพ่ายแพ้ให้กับสปาร์ตานั้น ชาวเมืองเอเธนส์ ผู้ยังเชื่อถือในเทพเจ้าผู้ปกป้องเมืองต่างๆ มองว่าการพ่ายแพ้ของเอเธนส์เป็นเพราะเทพเจ้าเอเธนา (Athena) ผู้เป็นเทพปกครองเมืองเอเธนส์นั้นประสงค์จะลงโทษเมืองเอเธนส์เพราะผู้คนใน เมืองเสื่อมศรัทธาในศาสนา การที่โสกราตีสตั้งคำถามและสนทนาเกี่ยวกับปรัชญาจึงเท่ากับเป็นการทรยศชาติ การไต่สวนตัดสินว่าโสกราตีสมีความผิด และเขาถูกประหารโดยการรับพิษ

วิธีคิดแบบ โสคราตีส (Socrates)
โสคราตีส เชื่อว่าความรู้เป็นสิ่งสัมบูรณ์ คือ เป็นสากล เที่ยงแท้แน่นอน เป็นความรู้ในความจริง และมีความรู้ชนิดเดียวคือ ความรู้ชนิดที่ทำให้ผู้รู้รักความจริง เทิดทูนคุณธรรม สามารถคิดและทำได้อย่างถูกต้อง
โสคราตีสเชื่อว่า ผู้มีความรู้จะไม่เป็นคนเลวโดยเด็ดขาด ส่วนผู้ที่ยังทำผิด ก็เพราะเขาไม่มีความรู้ มีแต่เพียงความเห็น จึงอาจผิดพลาดได้เป็นธรรมดา ผู้มีความรู้ทุกคนสามารถเข้าถึงความจริงได้ตรงกัน เพราะความรู้หรือความจริงเป็นสิ่งที่มีอยู่ในตัวมนุษย์อยู่แล้ว เรียกว่าเป็นความรู้ก่อนประสบการณ์ (Apriori Knowledge) ดังนั้นสิ่งที่ถูกรู้คือธีคิด ตัวเรา มิใช่โลกภายนอก คนเราต้องศึกษาตนเอง (Know Thyself) ให้เข้าใจแล้วจะพบความจริง
วิธีการที่โสคราตีสใช้ในการศึกษาตนเองก็คือ การคิดตรึกตรองในขณะจิตสงบ และอีกวิธีหนึ่งคือ การถาม-ตอบ หรือที่เรียกว่า วิธีการของโสคราตีส (Socratic Method) ประกอบด้วย
1. สงสัยลังเล (skeptical) โสคราตีสจะเริ่มต้นด้วยการยกย่องคนอื่น พร้อมกับขอร้องให้ช่วยอธิบายเรื่องที่ยังไม่กระจ่างให้ฟัง เช่น ความรัก ความงาม คุณธรรม ความยุติธรรม ความรู้ เป็นต้น
2. สนทนา (conversation) โสคราตีสจะเป็นผู้ตั้งคำถามให้คู่สนทนาเป็นผู้ตอบ เขาเชื่อว่าวิธีการนี้จะทำให้คู่สนทนาเปิดเผยความจริงที่มีอยู่ในตัวเองออก มา โดยมีเขาเป็นเพียงผู้ช่วย ไม่ใช่ผู้นำความรู้ไปให้ เพราะความรู้ไม่ใช่สิ่งใหม่ ขอเพียงนำออกมาให้ถูกวิธี
3. หาคำจำกัดความ (conceptional หรือ definitional ) โสคราตีส เชื่อว่าความจริงมาตรฐานจะแฝงอยู่ในคำจำกัดความ หรือคำนิยาม ที่สมบูรณ์ เช่น ความยุติธรรม หากเรายังไม่รู้ว่า ความยุติธรรมคืออะไร เราก็ยังไม่เข้าใจและไม่รู้จักว่าการกระทำใดยุติธรรมหรือไม่ยุติธรรม เป็นต้น ดังนั้นการสนทนาจึงเป็นการเสนอคำนิยามศัพท์ และพยายามขัดเกลาคำนิยามนั้นให้บกพร่องน้อยที่สุด
4. ทดสอบด้วยการลงมือปฏิบัติ โดยใช้วิธีการยกตัวอย่างที่มีสภาพแวดล้อมต่างกันมาช่วยโต้แย้งเพื่อขัดเกลา คำนิยาม คำนิยามใดที่ยังโต้แย้งได้ก็แสดงว่ายังไม่สมบูรณ์ จะต้องหาคำจำกัดความที่ทุกคนยอมรับโดยไม่มีข้อแย้ง
5. สรุปกฎเกณฑ์ไว้เป็นมาตรฐาน เพื่อนำไปใช้อ้างอิงต่อไป รวมถึงการพิสูจน์คำนิยามดังกล่าวด้วย