- สิ่งที่ชาวจีนสนใจคือการดำเนินชีวิตในโลกนี้ ปรัชญาจีนจึงเน้นที่หลักจริยธรรม
- คำพูดที่สะท้อนจิตวิญญาณของจีนคือ คนจีนไม่ได้ถือความคิดทางศาสนาและกิจกรรมทางศาสนาเป็นส่วนสำคัญที่สุดและน่าหลงไหลที่สุดในชีวิต พื้นฐานจิตวิญญาณของวัฒนธรรมจีนคือ จริยธรรม มิใช่ศาสนา
- จิตวิญญาณของปรัชญาจีนคือ “คน”
o แนวทางที่ ๑ : ความสำเร็จสูงสุดของการแสวงหาคือ “อริยปราชญ์”
o แนวทางที่ ๒ : ความสัมพันธ์ของคนในสังคมและกิจกรรมทางโลก
o ภาระหน้าที่ของปรัชญาจีน : ประสานแนวความคิดทั้งสองนี้ (อุดมคติ+ความเป็นจริงของโลก) เข้าด้วยกัน
o ภายในเป็นอริยปราชญ์ ภายนอกเป็นธรรมราชา
- อริยปราชญ์และการเมือง
o กิจกรรมทางโลกมิใช่เรื่องนอกหน้าที่ของอริยปราชญ์ กิจกรรมทางโลกคือแก่นแท้ของการพัฒนาบุคลิกภาพที่สมบูรณ์
o เขามิเพียงทำหน้าที่ในฐานะราษฎรของสังคมเท่านั้น แต่ยังทำในฐานะของ “ราษฎรของจักรวาล”
o “ภายในเป็นอริยปราชญ์ ภายนอกเป็นธรรมราชา” แสดงถึงความเกี่ยวพันอย่างแยกไม่ออกระหว่างอริยปราชญ์และหน้าที่ทางสังคมการเมือง
- ภูมิหลังทางภูมิศาสตร์ คือผืนดินอันกว้างใหญ่ไพศาล ชาวจีนจึงคิดว่า แผ่นดินของเขาคือ โลก (ใต้ฟ้า /ใต้หล้า)
- ภูมิหลังทางเศรษฐกิจ : เป็นระบบเศรษฐกิจแบบชาวนา การกสิกรรม และเจ้าของที่ดิน ผู้มีความเข้มแข็งทางกสิกรรมและสงครามจะเป็นผู้ชนะ
o “รากแก้ว” คือกสิกรรม
o “ปลายกิ่ง” คือ พาณิชย์
- ทัศนะร่วมกันของปรัชญาจีน
o “ฤดูหนาวถดถอยไป ฤดูร้อนก็เข้ามา ฤดูร้อนถดถอยไป ฤดูหนาวก็เข้ามา” อี้จิง (ปรัชญาหยู)
o “เมื่ออาทิตย์ขี้นถึงตอนเที่ยงก็จะตก เมื่อดวงจันทร์เต็มดวงก็จะกร่อน” อี้จิง (ปรัชญาหยู)
o “การหมุนเวียนเปลี่ยนกลับเป็นกฎเกณฑ์ที่สำคัญที่สุดของฟ้าดิน”
o “การพลิกกลับสู่ด้านตรงข้ามคือความเคลื่อนไหวของเต้า” (เหลาจื่อ)
o หลักจริยธรรมทางสายกลาง “อย่าเกินเลย”
- ดังนั้น
o ปรัชญาหยู เป็นปรัชญาทางสังคม จึงเป็นปรัชญาในชีวิตประจำวัน เพราะเน้นหน้าที่ทางสังคม
o ปรัชญาเต้า เน้นสิ่งธรรมชาติที่เกิดขึ้นภายในคน
o นักปราชญ์หยู ท่องอยู่ในสังคม นักปราชญ์เต้าท่องอยู่นอกสังคม (จวงจื่อ)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น