วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คำศัพท์ปรัชญาวันละนิด

- Cogito ergo sum (ค็อค-จิ-โต-เออร์โก-ซุม) มาจากคำละติน แปลว่า ฉันคิด ดังนั้นฉันจึงเป็นฉัน (I think, therefore I am) ตามหลักปรัชญาความรู้ของเดซ์การ์ตส์ (Descartes) ระบบการโต้แย้งเชิงปรัชญาของเขาเรียกว่า “the catersian argument” (เดอะ-แค็ท-เท-เชี่ยน-อา-กิว-เม้นท์)

- Common sense (คอม-ม่อน-เซนส์) สามัญสำนึกเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่

- Essence (เอ็ส-เซ้นส์ ) สารัตถะหรือแก่นแท้ของสิ่งต่าง ๆ

- existentialism (อิก-ซิส-เทน-เชียส-ลิซซึ่ม) หลักปรัชญาอัตถิภาวะนิยม ว่าด้วย การดำรงอยู่ (existence) ของมนุษย์ในฐานะปัจเจกบุคคล (individual) อย่างเป็นอิสระ (free) ที่มีคุณค่าและความหมายแตกต่างจากวัตถุสิ่งของ

- Free will (ฟรีวิล) เจตจำนงเสรี เป็นคำตรงข้ามกับชะตากรรมถูกกำหนด (determinism) เป็น ความคิดทางปรัชญาที่โต้แย้งกันว่า มนุษย์มีเจตจำนงเสรีเป็นอิสระแก่ตัวในการกระทำหรือไม่ หรือว่าถูกกำหนดไว้แล้วโดยชะตากรรม หรือโดยพระผู้เป็นเจ้าขีดเส้นชะตากรรมไว้แล้ว

- intuition (อิน-ทิว-อิ-ชั่น) ญาณที่ล่วงรู้มาก่อนแล้ว ญาณสังหรณ์

- tabula rasa (แท็บ-บุ-ล่า-รา-ซ่า) มาจากคำละติน แปลว่า “a blank tablet-กระดานที่ว่างเปล่าเป็นการอธิบายสภาวะจิตของมนุษย์ในทันทีที่ที่เกิดมาเป็นจิตว่างเปล่า ต่อมาได้รับประสบการณ์มาพิมพ์ลงในจิตจึงเกิดเป็นความรู้คิดต่าง ๆ ขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น